3 คำศัพท์ที่ต้องรู้ก่อนซื้อ นมผึ้ง (Royal Jelly)
ถ้าคุณต้องการที่จะซื้อนมผึ้ง คำศัพท์เหล่านี้ไม่รู้ไม่ได้เด็ดขาด เพราะมันเป็นเปรียบเสมือนเข็มทิศที่จะชี้นำไปสู่นมผึ้งคุณภาพดี เพราะถ้าคุณสุ่มเลือกก็อาจจะโชคดีได้นมผึ้งที่คุณภาพดีเท่ากับที่เงินคุณจ่ายไป แต่ส่วนใหญ่ไม่เป็นแบบนั้นเพราะคนไทยมักซื้อสินค้าตามผู้ที่มีชื่อเสียงที่มีความเข้าใจผิดๆเกี่ยวกับนมผึ้ง
คำศัพท์ที่เหล่านี้จำเป็นต้องรู้เพื่อป้องกันการถูกหลอกและสามารถเลือกนมผึ้งคุณภาพดีด้วยตัวเองได้อย่างถูกต้อง
1. คำว่า Royal Jelly ที่มาพร้อมกับตัวเลขคือค่าน้ำหนัก เช่น
Royal Jelly 1000 mg แปลว่า นมผึ้งน้ำหนัก 1000 มิลลิกรัม
Royal Jelly 1500 mg แปลว่า นมผึ้งน้ำหนัก 1500 มิลลิกรัม
Royal Jelly 2200 mg แปลว่า นมผึ้งน้ำหนัก 2200 มิลลิกรัม
**ควรระวัง:
คำว่า Royal Jelly ไม่ได้หมายถึง ความเข้มข้นแต่อย่างใด เป็นเพียงค่าน้ำหนักเม็ดเท่านั้น ไม่ได้บ่งบอกปริมาณค่าสารอาหารใดๆทั้งสิ้นตามที่หลายคนเข้าใจ ยิ่งตัวเลขส่วนนี้เม็ดจะยิ่งใหญ่ขึ้นไปเรื่อยๆ
2. คำว่า Royal jelly Lyophilised อ่านว่า นมผึ้งไลโอฟิไลซ์ แปลว่าค่าความเข้มข้นของปริมาณสารอาหารที่จะได้รับ ถ้าต้องการดูค่าสารอาหารที่คุณจะได้รับให้ดูที่คำว่า Royal jelly Lyophilised เป็นหลัก อย่าใช้ค่าน้ำหนักเม็ดในการเปรียบเทียบคุณภาพ
3. คำว่า สาร 10-Hydroxy-2decenoic acid (10-HDA) แปลว่า ค่าสารชะลอวัย สารนี้สำคัญเทียบเท่า Royal jelly Lyophilised หรืออาจมากกว่าเพราะไม่สามารถหาได้ทั่วไปในอาหารทุกประเภท
คำศัพท์อื่นๆที่ควรรู้
คำว่า Royal jelly Fresh แปลว่า นมผึ้งสด
ข้อดีคือ: เป็นนมผึ้งเก็บเกี่ยวเพรียวยังไม่ผ่านการแปรรูป
ข้อเสีย: มีส่วนผสมของน้ำ 60-70% ต้องแช่แข็งตลอดเวลา เน่าเสียง่ายเนื่องจากมีส่วน
Royal Jelly Softgel แปลว่า นมผึ้งที่มีลักษณะเม็ดนิ่ม
ข้อดี: เป็นรูปแบบเม็ดที่มีลักษณะคล้ายคลึงนมผึ้งสด
ข้อเสีย: มีส่วนผสมของน้ำมัน 33-97% แล้วแต่ละผู้ผลิต
Royal Jelly Tablet แปลว่า นมผึ้งชนิดอัดเม็ด
ข้อดี: สามารถเคี้ยวได้เหมาะกับผู้ที่ทานกลืนยาก
ข้อเสีย: ไม่มีเปลือกห่อหุ้ม (นมผึ้งเสื่อมตัวเร็วเมื่อสัมผัสกับออกซิเจนโดยตรง) ใช้สารประสารหรือแป้งเป็นส่วนผสมในการขึ้นรูป
Royal Jelly Capsule แปลว่า นมผึ้งชนิดแคปซูล
ข้อดี: เป็นการนำผงนมผึ้งสกัด 100% บรรจุลงในแคปซูลโดยตรง คุณค่าทางสารอาหารสูง
ข้อเสีย: มีรูปลักษณ์ที่ไม่เหมือนนมผึ้งสดหรือนมผึ้งชนิดซอฟเจล
ทั้งสี่รูปแบบนี้มีความเหมือนกันในส่วนของการให้ประโยชน์จากนมผึ้ง แต่อาจมีความแตกต่างในเรื่องของรสชาติ, สะดวกสบายในการบริโภค, และวิธีการจัดเก็บ
แต่อย่างไรก็ตาม, ควรทราบว่าคุณภาพของนมผึ้งจะขึ้นอยู่กับค่า Royal Jelly Lyphilised และ 10-HDA ของแต่ละแบรนด์
การทานนมผึ้งจะขึ้นอยู่กับรูปแบบที่ซื้อมาและคำแนะนำของผู้ผลิต แต่ทั่วไปแล้ว สามารถทำตามขั้นตอนดังนี้
การใช้งานเป็นเม็ดแคปซูล: นมผึ้งบางแบรนด์จะมาในรูปแบบของแคปซูล โดยสามารถกินตามคำแนะนำของผู้ผลิต, ซึ่งมักจะเป็นการกิน 1-2 แคปซูล ต่อวัน และควรกินพร้อมอาหารหรือก่อนนอน
การใช้งานเป็นของเคี้ยว: นมผึ้งบางแบรนด์อาจจะมาในรูปแบบของของเคี้ยว ที่สามารถกินเป็นของว่างระหว่างวัน หรือกินแทนอาหารว่าง วันละ 1-2 เม็ด
การใช้งานเป็นนมผึ้งผง: นมผึ้งบางแบรนด์อาจจะมาในรูปแบบของผงที่สามารถใช้เทใส่ในชา, น้ำอุ่น, หรือเครื่องดื่มอื่น ๆ 1-2 ช้อนชา
การใช้งานเป็นนมผึ้งสด: นมผึ้งบางแบรนด์อาจจะมาในรูปแบบของนมผึ้งสด โดยสามารถกินได้ตามที่ผู้ผลิตแนะนำ 1-2 ช้อนโต๊ะ
อย่างไรก็ตาม, สำคัญที่สุดคือต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ผลิต นอกจากนี้, ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญก่อนเริ่มที่จะทานนมผึ้ง โดยเฉพาะถ้าคุณมีภาวะสุขภาพเฉพาะเจาะจง หรือกำลังทานยาอื่นๆ